สรรพคุณ




การใช้ประโยชน์จากผลหม่อนนั้นหลากหลายมากมายไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น ๆ ของต้นหม่อนเองเลย  ผลหม่อนสุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณใช้รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ ดกดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชีย  ชาวจีนเรียกผลหม่อนว่า sangshen 

ผลหม่อน หรือ MULBERRY การใช้ประโยชน์จากผลหม่อนนั้นหลากหลายมากมายไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น ๆ ของต้นหม่อนเองเลย ผลหม่อนสุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณใช้รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ ดกดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชีย ชาวจีนเรียกผลหม่อนว่า sangshen

ในหนังสือmodern Chinese Materia Medica ให้สมญานาม ผลหม่อน ว่าเป็น Blood tonic นั่นย่อมแสดงถึงความสำคัญในด้านบำรุงเลือดตามคติความเชื่อของชาวจีนได้เป็นอย่างดี แพทย์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ชื่อ เลี่ยงฮียัง ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการรับประทานผลหม่อนสุกไว้ว่า ทำให้ตับไม่มีไฟ หัวใจคลายความร้อนรุ่ม เส้นประสาทตาดี สายตาก็แจ่มใส ร่างกายก็สุขสบาย
ส่วนด้านของแพทย์แผนจีนนั้นแนะนำให้ใช้ผลหม่อนสุกในการรักษาสมดุลของพลังหยิน ป้องกันผมหงอกก่อนวัย โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เช่น ราก ho-shou-wu (Polygonum multiflorum), รากrehmannia (Rehmannia glutinosa, root), ผลของ ligustrum (Ligustrum lucidum) และผลของ lyceum (Lycium chinensis)
ในทวีปยุโรป ออสเตรเลียและอเมริกาเหนือ นิยมปลูกต้นหม่อนไว้ตามสนามหญ้าหน้าบ้านหรือหลังบ้านเพียง 2-3 ต้น เพราะนอกจากจะเป็นไม้ประดับแล้ว ยังให้ผลไว้รับประทานในครอบครัวอีกด้วย
ผลหม่อนจะหาซื้อทานได้ยากมากในท้องตลาด หรือซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป สำหรับในบ้านเรา หม่อนพันธุ์พื้นเมืองของไทยที่มีเพศเมีย เช่น หม่อนไผ่ หม่อนคุณไพ จะให้ผลที่มีขนาดเล็ก ทำให้ไม่มีใครสนใจที่จะนำไปบริโภคมากนักจนกระทั่งเรามีหม่อนพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตใบสูงแล้วยังให้ผลที่มีขนาดใหญ่ คือ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ทำให้เริ่มมีคนหันมาสนใจทานผลหม่อนสดกันได้อย่างเอร็ดอร่อยมากขึ้น ลูกหม่อนอบแห้ง (Mulberry fruit) ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในจีน ญี่ปุ่นและเกาหลี ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายได้แก่
§  น้ำ : 85-88% น้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส:7.8-9.2%
§  โปรตีน : 0.4-1.5%
§  ไขมัน (linoleic, stearic, และ oleic acids) : 0.4-0.5%
§  กรดมาลิค (malic acid) : 1.1-1.9%
§  เส้นใย : 0.9-1.4% และ แร่ธาตุ : 0.7-0.9%

ปัจจุบัน ลูกหม่อน(มัลเบอร์รี่) ผลิตเป็น มัลเบอร์รี่อบแห้ง ที่สามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้จริง
น้ำมัลเบอรี่ หรือ น้ำลูกหม่อน ผลไม้ที่ทรงคุณค่า แต่หารับประทานยาก เดิมเป็นผลพลอยได้จากการปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์60 ซึ่งนอกจากให้ผลผลิตใบสำหรับเลี้ยงไหมแล้ว ยังให้ผลหม่อนสดรสชาติดีอีกด้วย ปัจจุบัน สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พบหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ ให้ผลดก ได้ผลผลิตมากกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี และได้นำผลหม่อนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ประโยชน์
มัลเบอร์รี่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ อาทิ กรดโฟลิก ซึ่งพบว่า ทารกที่เกิดจากมารดาที่ขาดกรดโฟลิก มีความเสี่ยงที่จะพิการทางสมองและประสาท ไขสันหลัง นอกจากนั้นยังพบสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอนโธไชยานิน เควอซิติน ที่มีส่วนลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ตำรับยาโบราณมีการใช้ผลหม่อนต้มบริโภคทั้งเนื้อและน้ำแก้โรคไขข้ออักเสบ ท้องผูก โลหิตจาง และขับเสมหะ

ผลมัลเบอรี่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลูกหม่อน เมื่อนำมาทำเครื่องดื่มและอาหารแล้วรสชาติสีสันและคุณค่าทางอาหาร ไม่ด้อยไปกว่าผลบลูเบอรี่ ผลราสพ์เบอรี่ และแบล็คเบอรี่ ผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูงมาก ดังนั้น อาหารที่ใช้ผลไม้ดังกล่าวเป็นส่วนผสมจึงสามารถใช้ผลหม่อนทดแทนได้ทั้งหมด เช่น เค้ก โดนัท พาย ผลหม่อนห่าม จะมีสีแดง ให้รสเปรี้ยว ผลหม่อนสุก จะมีสีม่วงดำ ให้รสหวานจัด และไอศกรีม ฯลฯ

โดยรวมๆ สารต้านอนุมูลอิสระ อันหลากหลายในเบอร์รี่จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มการทำงาน และลดการอักเสบของหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคทางระบบประสาทและสมอง
เครื่องดื่มยามเช้าที่เหมาะกับตัวคุณ น้ำลูกหม่อน ในตอนเช้า ๆ หลาย ๆ คนคงต้องการที่จะหาอะไรดื่มก่อนไปเรียนหรือไปทำงาน อร่อยสดชื่นเพื่อจะให้ร่างกายมีพลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เราเลยหาเครื่องดื่มที่เหมาะกับเช้าวันใหม่มาแนะนำกัน
น้ำลูกหม่อน เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด น้ำลูกหม่อนโดยเฉพาะวิตามินซี วิตามินเอ โฟลิคแอซิด และแร่ธาตุ เช่น โซเดียม โปแตสเซียม สังกะสี น้ำลูกหม่อนนอกจากนั้นในน้ำผักและน้ำผลไม้ยังมีส่วนผสมของน้ำตาลโดยธรรมชาติ ซึ่งสามารถให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยให้เราหายเหนื่อย หายเพลีย ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นน้ำหวาน คนที่นอนดึกส่วนใหญ่ยามเช้าของคุณจะมีอาการปวดหัว มึนศีรษะ เกิดอาการเครียดทางประสาท ซึ่งอาจเป็นเพราะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
น้ำลูกหม่อนโดยเฉพาะความหวานของน้ำลูกหม่อนนั้นจะถูกดูดซึมได้ดีและง่าย ดังนั้นน้ำหวานจะทำให้จิตใจสงบ คลายอาการเครียดและมึนงงได้เป็นอย่างดี

น้ำลูกหม่อน(Mulberry) เป็นไม้ยืนต้นตระกูลเบอรรี่ เช่นเดียวกับ บลูเบอรรี่ และราสเบอรี่ เมื่อดิบสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีแดงและเป็นสี่ม่วงดำเมื่อสุก รสหวานอมเปรี้ยว มีผลงานวิจัยหลายสถาบันในประเทศไทย มหาวิทยยาลัยทางการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตและงานวิจัยหลายประเทศ ดังนี้
1.มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชื่อ Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และป้องกันโรคมะเร็ง
2.มีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงเลือด ตับ ไต ลดการเกิดสิว ลดอาการปวดประจำเดือน
3.ป้องกันและยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดแตก สาเหตุของโรคอัมพฤก อัมพาต
4.มีวิตามินซี สูง ช่วยป้องกันหวัด โรคภูมิแพ้ โรคปอด วัณโรค ป้องกันเชื้อไวรัส
5.มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก (ป้องกันแสงสีน้ำเงินเข้าทำลายเลนส์ตา)บำรุงเหงือกและฟัน สร้างภูมิให้ระบบหายใจ บำรุงผิว ลดการอักเสบของสิว
6.มีกรดโฟลิค หรือวิตามินใบไม้ หรือวิตามินเอ็ม ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันทารกพิการ ช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงแรกตั้งครรภ์เดือนแรกต้องการกรดโฟลิค
7.ช่วยแก้อาการเมาค้าง ผ่อนคลายความเครียด
8.ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย


ประโยชน์อันทรงคุณค่าของต้นหม่อน

สรรพคุณของต้นหม่อน มีรายงานไว้อย่างมากมาย ดิฉัน ใคร่ขอสรุปประเด็นความคืบหน้าเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยทางยาของต้นหม่อน โดยแยกตามส่วนต่าง ๆ ของต้น ดังนี้
 
ยอดหม่อน หากรู้สึกอ่อนล้า ใช้สายตามากในการทำงานโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ขับรถยนต์ในเวลากลางคืน และเพ่งมองถนนเป็นเวลานาน ๆ การนำส่วนยอดอ่อนของหม่อนมาต้มเพื่อดื่มและล้างตา ก็จะสามารถช่วยผ่อนคลายและช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี
 
- ใบหม่อน มีสารออกฤทธิ์กลุ่มฟลาโวนอยด์ ไฟโตสเตียรอล ไตรเทอปีน อัลคาลอยด์เซราไมด์และน้ำมันหอมระเหยนอกจากนี้ยังมีสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณสูง เช่น คาร์โบไฮเดรต เพคติน โปรตีน เส้นใยอาหาร รวมทั้งวิตามินบี ซี และแคโรทีนด้วย ผลการศึกษาประโยชน์จากใบหม่อนโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นรายงานว่า ใบหม่อนนั้นสามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระต่ายได้ ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตและลดอัตราการตายของหนูที่เป็นโรคมะเร็งในตับลงอย่างได้ผล
ในหมู่ชาวญี่ปุ่นมีการดื่มน้ำชาจากผงใบหม่อนและรากหม่อนสืบต่อกันจนเป็นประเพณีด้วย ความเชื่อที่ว่าจะช่วยในการบำรุงและรักษาสุขภาพได้ดีMr.Tsushida และคณะ ค้นพบสาร gamma-aminobutyric acid ในใบหม่อนและได้พัฒนามาเป็นชา “Gabaron Tea” เพื่อใช้บำบัดรักษาโรคความดันโลหิตสูง
เทคนิคการชงชาใบหม่อนเพื่อดื่มควรใช้น้ำร้อน เพราะจากการศึกษาในชาใบหม่อน 5 ชนิด พบว่าชาเขียวใบหม่อนที่ผลิตมาทั้งแบบอุตสาหกรรมโรงงานหรือแบบครัวเรือน (นึ่ง) ให้ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยรวมเมื่อชงด้วยน้ำร้อนมีค่าสูงที่สุด เมื่อเทียบกับชาชนิดเดียวกันที่ไม่ได้ชงด้วยน้ำร้อน
- ผลหม่อน หรือ MULBERRY การใช้ประโยชน์จากผลหม่อนนั้นหลากหลายมากมายไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น ๆ ของต้นหม่อนเองเลย ผลหม่อนสุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณใช้รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ ดกดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชีย ชาวจีนเรียกผลหม่อนว่า sangshenในหนังสือ modern Chinese Materia Medica ให้สมญานามผลหม่อนว่าเป็น Blood tonic นั่นย่อมแสดงถึงความสำคัญในด้านบำรุงเลือดตามคติความเชื่อของชาวจีนได้เป็นอย่างดี แพทย์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ชื่อ เลี่ยงฮียัง ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการรับประทานผลหม่อนสุกไว้ว่า ทำให้ตับไม่มีไฟ หัวใจคลายความร้อนรุ่ม เส้นประสาทตาดี สายตาก็แจ่มใส ร่างกายก็สุขสบาย
ส่วนด้านของแพทย์แผนจีนนั้นแนะนำให้ใช้ผลหม่อนสุกในการรักษาสมดุลของพลังหยิน ป้องกันผมหงอกก่อนวัย โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เช่นราก ho-shou-wu (Polygonum multiflorum), ราก rehmannia (Rehmannia glutinosa, root), ผลของ ligustrum (Ligustrum lucidum) และผลของ lyceum (Lycium chinensis)
หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ มีดีอย่างไร ?


1. สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
2. ปลูกและดูแลรักษาง่าย ขอแค่ให้มีน้ำเพียงพอก็ให้ผลแล้ว
3. ให้ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี เมื่อต้นหม่อนมีอายุ 3 ปีขึ้นไปหลังปลูก
4.  ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยจากสารพิษ เพราะขณะนี้ยังไม่พบว่ามีความจำเป็นต้องใช้สารป้องกั
กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
5.  ผลมีสีแดงสดใสจนถึงสีแดงเข้ม (ผลห่าม) ดุจดังสีทับทิมสยาม สำหรับผลสุกให้สีม่วง เมื่อนำไปแปรรูปจะได้ ผลิตภัณฑ์สีสดใส ถูกใจ ผู้บริโภค
 
การปลูกหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่
1. เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะสามารถเป็นได้ทั้งไม้ใบและไม้ผล
2. ปลูกเพื่อผลิตผลหม่อนเชิงพาณิชย์

การเลือกพื้นที่
1. ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
2. ดินไม่เป็นกรด หรือด่างมากเกินไป
3. สภาพพื้นดินไม่เคยเกิดการระบาดโรครากเน่าของหม่อนมาก่อน
4. สามารถให้น้ำได้ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ที่หม่อนกำลังติดดอกออกผล
5. พื้นที่คมนาคมสะดวก
6. อยู่ใกล้ตลาดและโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลหม่อน
 
การปลูกมี 2 วิธี
 
วีธีที่ 1. การปลูกเป็นแถว
§  ไถดินลึก 30 เซนติเมตร
§  ขุดร่องกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร รองก้นร่องด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2-3 ตัน/ไร่ กลบดิน ปลูกหม่อนระยะระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ระหว่างแถว 2-3 เมตร
วิธีที่ 2. ปลูกเป็นหลุม
  •   เตรียมหลุดขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 2-4 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 3-5 กิโลกรัม
  • ปลูกต้นกล้าหม่อนกลบโคนให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม
การใส่ปุ๋ย
 
ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ (ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน) ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 2 ต้นฤดูหนาว ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 3 เพื่อเพิ่มความหวานใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะผลหม่อนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดง
การให้น้ำ
 
1.      ต้องให้น้ำหม่อนในระยะติดผล
2.      ให้น้ำในระยะอื่นๆ  พิจารณาตามความเหมาะสมเมื่อฝนทิ้งช่วง
 
การบังคับทรงพุ่ม
 
1.เลือกกิ่งสมบูรณ์ไว้ประมาณ 5 กิ่ง/ต้น ตัดไว้ตอช่วงต้นฤดูฝนเพื่อให้แตกกิ่งแขนง สร้างทรงพุ่มให้แตก
2.หม่อนจะออกดอกราวเดือนมกราคม-มีนาคม และเก็บเกี่ยวผลหม่อนในช่วงปลายฤดูหนาว-ฤดูร้อน
 
การเก็บเกี่ยวผลหม่อน
 
1.เพื่อบริโภคผลสด ควรเก็บเกี่ยวผลหม่อนสีม่วงแดง หรือสีม่วงดำ
2.เพื่อการแปรรูป การทำน้ำผลหม่อนที่มีสีแดงควรเก็บเกี่ยวในระยะผลสีแดงม่วงผสมกับสีม่วง  การแปรรูปเป็นไวน์ควรเก็บเกี่ยวในระยะสีม่วงดำ

การเก็บรักษาผลหม่อน
 
1.การบริโภคผลสด นำมาบรรจุในกล่องกระดาษเป็นชั้นๆ หนาไม่เกิน 2 ชั้น ทำการปิดกล่องเพื่อรอการขนส่งและจำหน่าย
2.การแปรรูป อาทิ น้ำหม่อน แยมหม่อน ไวน์หม่อน เยลลี่ หากไม่สามารถนำไปแปรรูปได้ทันที ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -14 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 12 เดือน
 
การ เก็บเกี่ยวผลนับเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกิจกรมภายในสวนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการ การเก็บรักษาผล การขนส่ง และการตลาด เนื่องจากผลหม่อนมีขนาดผลเล็กและมีระยะเวลาสุกของผลไม่พร้อมกันหมดทั้งต้น แต่เป็นการค่อยๆ สุกทีละผลและจะต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นระยะเวลานานเป็นเดือน อีกทั้งผลหม่อนเป็นผลไม้ที่มีความบอบช้ำได้ง่าย ดังนั้นวิธีการเก็บเกี่ยวผลหม่อนจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง จึงขอแนะนำวิธีการเก็บเกี่ยว ดังนี้
1.
การเก็บเกี่ยวผลเพื่อรับประทานผลสด        เมื่อผลหม่อนเริ่มเปลี่ยนสีจากสีแดง เป็นสีแดง- ดำหรือสีดำ ก็เก็บผลได้โดยการใช้มือเก็บทีละลูกเนื่องจากผลหม่อนสุกไม่พร้อมกันหากปล่อย ทิ้งไว้จนผลเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำผลจะร่วงลงสู่พื้นดินทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิต ได้น้อย หลังจากเก็บผลหม่อนมาแล้วนำมาบรรจุในกล่องกระดาษโดยเรียงเป็นชั้น ๆ ไม่เกิน 2 ชั้น ทำการปิดกล่องเพื่อรอการขนส่งและจำหน่ายต่อไป หากไม่สามารถขนส่งได้ทันทีควรเก็บไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส
2.
การเก็บเกี่ยวเพื่อการแปรรูป         หากต้องการนำไปทำน้ำผลหม่อนที่มีสีแดงก็เลือกเก็บเกี่ยวในระยะผลแดง แต่หากต้อการให้น้ำผลไม้มีสีคล้ำก็เก็บผลในระยะสีดำ สามารถนำผลหม่อนไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ทันที หากไม่สามารถแปรรูปได้ทันที ควรเก็บรักษาไว้โดยบรรจุในถุงพลาสติก หรือ ตะกร้าผลไม้ ในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ -22 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นาน 6 เดือน
การเก็บรักษาผลหม่อน
            หม่อน รับประทานผล ผลิตผลหม่อนออกมาในฤดูกาลเป็นระยะเวลาสั้น คือประมาณ 30 -40 วันเท่านั้น ทำให้การนำผลหม่อนไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ จำต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อมิให้ผลหม่อนที่สุกเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการเก็บรักษาผลหม่อนเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นระยะเวลา นานมากขึ้นจึงมีความจำเป็นยิ่ง แต่การเก็บรักษาผลหม่อนนั้นแตกต่างกันไปตามแต่วัตถูประสงค์ของการนำไปใช้ ประโยชน์ คือ
1.      การ เก็บรักษาเพื่อการรับประทานผลสด ควรเก็บผลหม่อนจากต้นในระยะที่มีผลสีแดงเข้มแล้วนำมาใส่ภาชนะที่โปร่งวาง ซ้อนกันไม่สูงมากนัก จะสามารถเก็บรักษาผลหม่อนได้เป็นระยะเวลา 2 -3 วัน โดยที่คุณภาพของผลหม่อนยังคงเดิม  คือมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ซึ่งจะมีความหวานประมาณ 8 -10 °Brix. และมีปริมาณกรด 1.7 – 2.0 กรัม /ลิต มีสีสันแดงอมม่วงหรือดำ หากเก็บรักษาไว้นานกว่านี้จะทำให้ผลหม่อนมีปริมาณกรดน้อยลง และเปลี่ยนสีเป็นสีดำทำให้ไม่น่ารับประทานสด
2.      เก็บรักษา ในห้องเย็น ควรเก็บรักษาไว้โดยบรรจุในถุงพลาสติกขนาดบรรจุถุงละ 10 กิโลกรัม หรือบรรจุลงในตะกร้าผลไม้ และนำไปเก็บไว้ที่ห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ – 22 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นาน 6 เดือน
คุณสมบัติทางกายภาพ ของผลหม่อนสายพันธุ์เชียงใหม่ สีแดง – แดง ดำและดำ
ที่เก็บ รักษาไว้ในอุณหภูมิห้องในระยะเวลาต่างกัน

 

ระยะผลหม่อน

ระยะเวลาเก็บรักษาผลหม่อน (วัน)

1

2

3

4

5

ผลสีแดง

ผลสีแดง

ผลสีดำ- แดง

ผลสีดำ- แดง

ผลสีดำ-แดง

ผลสีดำ

ผลสีแดง- ดำ

ผลสีแดง- ดำ

ผลสีดำ

ผลสีดำ

ผลสีดำ

ผลสีดำ

ผลสีดำ

ผลสีดำ

ผลสีดำเข้ม

ผลสีดำเข้มค่อนข้างและ

ผลสีดำเละ

ผลสีดำเละ
    ปริมาณกรดของผลหม่อนสายพันธุ์เชียงใหม่  สีแดง  แดง  – ดำและดำที่เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิห้องในระยะเวลาต่างกัน (กรัม / ต่อลิตร)

ระยะผลหม่อน

ระยะเวลาเก็บรักษาผลหม่อน (วัน)

  1                  2                   3                    4                  5                 เฉลี่ย

แดง
แดง-ดำ
ดำ

2.05            1.89              2.01                1.7                1.19             1.77
1.47            1.21              1.61                1.4                0.68             1.27
0.77            0.49              0.61              0.56                0.19             0.52

เฉลี่ย

1.43            1.20              1.41               1.22               0.68             1.19
การ เปรียบเทียบปริมาณของแข็งที่ละลายได้ในน้ำ  ของผลหม่อนสายพันธุ์  เชียงใหม่  สีแดง  แดง-ดำและดำ  ที่เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิห้องในระยะเวลาต่างกัน (°Brix.)

ระยะผลหม่อน

ระยะเวลาเก็บรักษาผลหม่อน (วัน)

  1                  2                   3                    4                  5                 เฉลี่ย

แดง
แดง-ดำ
ดำ

7.93             7.83                8.57               9.53           10.43            8.86
8.93             8.87                9.07               9.67           14.67           10.24
15.13           14.60            15.23             15.93           16.17           15.41

เฉลี่ย

10.67           10.43            10.96             11.71           13.76           11.50
ส่วนประกอบทางเคมีของผลหม่อน (ต่อน้ำหนักแห้ง  100  กรัม)

ส่วนประกอบ

ผลห่าม (สีแดง)

ผลสุก (สีม่วง)

โปรตีน (protein)
คาร์โบไฮเดรท (carbohydrate)
ไขมัน  (fat)
แคลเซียม  (calcium)
ฟอสฟอรัส  (phosphorus)
เหล็ก  (iron)
วิตามิน  เอ  (vitamin  A)
วิตามิน  บี1  (vitamin  B1)
วิตามิน  บี2  (vitamin  B2)
วิตามิน  บี6  (vitamin B6)
วิตามินซี  (vitamin C)
กรดโฟลิก  (folic acid)
ไนอะซีน  (niacin)
แทนนิน  (tannin)
กรดมะนาว  (citric acid)
เส้นใย  (fiber)
เถ้า  (ash)
ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
ความชื้น  (mristure)

2.24
4.91
1.35
ND
ND
ND
ND
ND
ND
ND
ND
ND
ND
ND
4.71
ND
ND
4.05
ND

1.68
21.35
0.47
0.21
0.07
43.48
25.00
50.65
3.66
930.10
4.16
6.87
0.72
1.06
1.51
2.03
1.52
5.90
72.95
 
ที่มา : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และกองเกษตรเคมี   และ นาย วิโรจน์ แก้วเรือง  นักวิชาการ กรมหม่อนไหม เกษตรเชี่ยวชาญ
บล็อกสินค้าแนะนำ













 


 








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น