การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมัลเบอร์รี่ๆ เช่น
·
·
·
ใบหม่อน
ใบหม่อนนอกจากใช้เป็นอาหารของหนอนไหมแล้ว
ใบหม่อนสามารถนำไปทำเป็นชาสำหรับชงน้ำร้อนดื่มโดยจะทำในรูปชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง
หรือ รับประทานใบและยอดอ่อนโดยตรงโดยการใส่ในต้ม หรือแกงก็ได้
สารที่มีประสิทธิภาพสูงในใบหม่อน ได้แก่ flavonoid ซึ่งเป็นphytoestrogen , triterpene ,ceramide , mulberroside และ น้ำมันหอมระเหย
มีการศึกษาพบสาร
flavonoid glycosides 3 ชนิด คือ quercetin
3- (6-malonyglucoside ) , rutin (quercetin 3- rutinoside ) และ isoquercetin
( quercetin 3- glucoside ) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสาร LDL
antioxidant โดยพบ quertin 3- (6-malonyglucoside ) และ rutin
ผลหม่อน มีรงควัตถุ (pigment) หลักคือ แอนโทไซยานิน (anthocyanins) สารนี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
(antioxidant) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด
โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคมะเร็ง (Lazze et al., 2004) นอกจากนี้ยังมีสารประกอบฟีนอลซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน
สารประกอบฟีนอลนี้มีฤทธิ์ต่อต้านอาการอักเสบ และอาการเส้นเลือดโป่งพอง
ช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและไวรัส (Duthie et al., 2000) นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่าในผลหม่อนมีสารเคอร์ซีทิน (quercetin) ซึ่งเป็นสารประกอบกลุ่มฟาโวนอยด์ (flavonoid) ที่มีคุณสมบัติลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง และป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด (Manach, 2005) จากการวิจัยยังพบอีกว่า
เมื่อผลหม่อนมีความสุกเพิ่มขึ้นปริมาณสารออกฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้นก็จะมีมากเพิ่มขึ้นเช่นกัน
(สมชาย และคณะ, 2550)
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย
ที่
คุณวราพร
แคล้วศึก 085-9083178
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น