หม่อน ที่เราทราบกันดีว่าใบใช้เป็นอาหารหนอนไหม เพื่อให้หนอนไหมสร้างเส้นใยพันรอบตัวเองเป็นรังไหม ก่อนนำมาสาวเป็นเส้นไหมใช้ถักทอเป็นแพรพรรณอันล้ำค่า เหนือแพรพรรณที่ผลิตจากเส้นใยชนิดอื่น แต่หม่อนมิใช่พืชที่มีเพียงใบที่นำมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงไหมและนำมาผลิตชาใบหม่อน ที่มีสรรพคุณโดดเด่นในการลดน้ำตาลในเลือด เป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ในขณะนี้เท่านั้น
ทุกส่วนของหม่อนสามรถนำไปใช้ประโยชน์ได้
อาทิ
·
รากหม่อน มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ ลดอาการขัดเบา ลด ความดันโลหิต
แก้อาการไอที่มีเสมหะสีเหลือง
·
กิ่งและลำต้นหม่อน มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต แก้อาการปวดกล้ามเนื้อ
และอาการหดเกร็งของแขนขา
·
ผลหม่อนเป็นส่วนประกอบในอดีตใช้เป็นเพียงพืชสมุนไพร แก้อาการวิงเวียน
หน้ามืด ตาลาย หูอื้อ ผมหงอกก่อนวัย คอแห้ง กระหายน้ำ
ช่วยให้นอนหลับและช่วยระบายท้อง ด้วยการนำผลหม่อนมาผึ่งแดดให้แห้ง ต้มน้ำดื่ม 9 ถึง 15 กรัมต่อน้ำ
1 ลิตร
ปัจจุบันผลหม่อนมีประโยชน์และนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและอาหารได้หลากหลายมากมายกว่าที่คิด
จากการจุดประกายการวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากผลหม่อนของผมและคณะในขณะที่สังกัดสถาบันวิจัยหม่อนไหม
กรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สังกัดอยู่กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่นเดิม
แต่ผลหม่อนผลไม้ขนาดจิ๋วก็ยังคงได้รับการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นลูกไม้ที่ไม่ธรรมดา
ลูกหม่อนหรือผลหม่อน ฟังดูเหมือนไม่มีคุณค่าเท่าใด
ถ้าพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า “mulberry”
(มัลเบอร์รี่) ฟังดูมีคุณค่าเพิ่มขึ้น
ดังนั้นชาวไทยภูเขาภาคเหนือ
เมื่อเก็บผลหม่อนที่ปลูกเป็นไม้ริมรั้วมาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวหรือชาวไทยพื้นราบจึงเรียกว่า
มัลเบอร์รี่บ้าง ราสเบอร์รี่หรือบลูเบอร์รี่บ้าง แล้วแต่จะนึกได้
ขอให้ฟังดูดีขายได้ราคาก็เพียงพอแล้ว
ในต่างประเทศนิยมทำอาหารและเครื่องดื่มจากผลไม้จิ๋วกลุ่มเบอร์รี่มากอีกทั้งผลไม้เหล่านี้ยังมีราคาแพง
ในรัฐแคลิฟอเนียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกามีราคาสูงถึง 800
– 1,200 บาทต่อกิโลกรัม อีกทั้งยังนิยมปลูกเป็นไม้บังลม (wind
break) รอบสวนองุ่นและสวนผลไม้อื่นๆ เพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารของนก
ในเมืองบาคู (Baku) เมืองหลวงของอาเซอร์ไบจัน
จะพบต้นหม่อนอย่างดาดดื่น ทั้งในสวนสาธารณะ ถนนจากในเมืองถึงชนบท
ในสวนผลไม้ที่ปลูกร่วมกับผลไม้อื่นๆ
ชาวอาเซอร์ไบจัน นิยมดื่มน้ำหวานจากผลหม่อน เรียก โดชาบ (Doshab)
และบัคมาซ (bakmaz) ในประเทศจอร์เจียและอาร์เมเนีย
นิยมนำมาทำวอดก้า
ในออสเตรเลียโดยเฉพาะฝั่งตะวันตกนิยมปลูกต้นหม่อนไว้ในสนามหลังบ้าน
เป็นผลไม้ประจำบ้านและมีจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตตามฤดูกาล
ประเทศไทยชาวไทยภูเขาภาคเหนือในเขตจังหวัดเชียงใหม่
เชียงรายและแม่ฮ่องสอนปลูกเป็นผลไม้ริมรั้ว
ก่อนการวิจัยและพัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องดื่มและอาหารในห้างสรรพสินค้าและโรงแรมชั้นหนึ่ง
ในช่วงที่ผ่านมาเราทราบกันดีว่าผลหม่อนนำมาผลิตเป็นไวน์
และน้ำผลไม้ในเชิงพาณิชย์ โดยบริษัทเอกชนไม่กี่แห่ง
แต่ด้วยสรรพคุณของผลหม่อนที่มีฤทธิ์ทางยารักษาโรคของมนุษย์ตามตำรับยาจีนและชาติต่างๆ
ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
องค์การเภสัชกรรมของอังกฤษได้นำผลหม่อนมาผลิตยาแผนปัจจุบันเป็นยาน้ำเชื่อม
ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบายและใช้กลั้วคอ ลดการอักเสบลำคอ
จากผลการวิจัยของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ
ผลหม่อนและไวน์หม่อนที่ผลิตจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ มีสารประกอบเควอซิตินที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ดังตารางการเปรียบเทียบปริมาณเควอซิตินในผลหม่อนชนิดต่างๆ
และในไวน์หม่อน
ชนิดของหม่อน
|
ปริมาณเควอซิติน (มิลลิกรัม/100กรัม)
|
ผลหม่อนสุก (แห้ง)
|
17.63
|
ผลหม่อนห่าม (แห้ง)
|
10.13
|
ผลหม่อนสุก (สด)
|
3.42
|
ผลหม่อนห่าม (สด)
|
0.88
|
ไวน์หม่อน (ผลหม่อน : น้ำ )=
1 : 3
|
1.32
|
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
คุณวราพร แคล้วศึก 085-9083178
อีเมล pannfit@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น